วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

"การศึกษาไทยยุคใหม่"


      "  เหนือสิ่งอื่นใด “การศึกษา” น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คน
เป็น "คนที่มีคุณภาพ" เพราะการศึกษาเป็นขบวนการ
ทำให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนคนนั้น
อยู่รอดในโลกได้ ดังนั้นจึงมีการจัดการศึกษาของไทยมาโดยตลอด
 เพราะเชื่อว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ
 เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับ
การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้  "


       ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโลกโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่สิ้นสุด ทำให้มีสภาพการแข่งขันสูงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ   ผู้คนขวนขวายเรียนรู้มากขึ้น  เป้าหมายการศึกษาของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่และที่มีกำลังความสามารถจึงมีความต้องการศึกษาสูงขึ้นในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีทางเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ในประเทศและต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและมีบริการด้านการศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ และในขณะนี้เองประเทศไทยก็เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้การก่อตั้งนี้ การศึกษานั้นจะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆมีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ดังนั้นเมื่อการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน นักเรียน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ จะได้รับผลกระทบและจะต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ตนเองอยู่รอด

      การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏให้เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้าทดลอง และประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน ซึ่งสิ่งที่ข้าพเจ้าอยากเห็นการศึกษาไทยใน 2020  ดังนี้

1.เทคโนโลยี โดยอยากเห็นการนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นนวัตกรรมในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนนักศึกษา เพราะว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาและเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลาและตลอดชีวิต




2.ในด้านภาษานั้นก็เป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ เพราะบางภาษาเป็นสื่อกลางหรือเป็นเครื่องมือ ของการรับรู้ ทำความเข้าใจ และการแสดงออกเพื่อให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ จึงอยากจะเห็นการพัฒนาความสามารถทางภาษา ให้เกิดกับเด็กไม่ว่าจะเป็นภาษาของชาติ ภาษาท้องถิ่น และภาษาต่างประเทศต่างก็มีความสำคัญที่จะต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อที่จะช่วยความเร็ว ความคงทนยั่งยืนของการเรียน ภาษา และสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษา เพราะว่าในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยเราก็จะเป็นอาเซียนแล้ว



3. อีกอย่างหนึ่งที่รูปแบบการศึกษาไทยควรจะมีให้มากขึ้น คือ การพัฒนาให้เด็กเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์มันต้องฝึกฝน โดยเป็นการคิดได้ที่หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม ซึ่งจะเห็นได้ว่าระบบการเรียนการสอนของเราตั้งแต่ระดับประถม มัธยมไม่ได้ฝึกในด้านความคิดสร้างสรรค์เลย คือ เราเรียนรู้แบบฟังและสอนแล้วก็ให้ฝึกแก้ปัญหาโจทย์ มาตลอดจนกระทั่งทุกวันนี้ เราประเมินผลคนเรียนเก่ง จากการที่มีความสามารถในการจำ และคิดแก้ปัญหาโจทย์ได้ การเรียนการสอนแบบนี้ ทำให้เด็กต้องอ่านหนังสือซ้ำๆ กันหลายๆ รอบ ฝึกทำโจทย์ด้วยทฤษฎีเดิมๆ กระบวนการแก้โจทย์เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องและแน่นอนว่า คำตอบที่ถูกมีคำตอบเดียว เพราะมันใช้วิธีการเดียวที่จะได้มาซึ่งคำตอบ ดังนั้นเด็กก็เก่งในการหาคำตอบซึ่งมันก็ดีในแง่หนึ่ง แต่ก็เสียดายที่โรงเรียนตั้งมากมาย แต่เรายังฝึกเด็กในรูปแบบเดียวแล้วเราก็ติดนิสัยอย่างนี้จนไปเข้ามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเองก็มีการเรียนการสอนส่วนมาก ที่ยังขาดการฝึกให้เด็กคิด พวกเราแทบทั้งประเทศเลยมีคนทำงานเก่ง แต่คิดไม่เก่ง



4.ส่วนในด้านคุณธรรมจริยธรรมนั้นควรจะมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก โดยเริ่มต้นจากครอบครัว คือ“บ้าน” ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก เป็นที่ที่เด็กได้รับความรักและความรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ  พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายายเปรียบเสมือน “ครู” คนแรก ที่เป็นผู้เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หุงหาอาหาร ปกป้องคุ้มภัย และพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปหาหมอ แล้วจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของคุณครูที่จะอบรมบ่มนิสัยเพิ่มเติมและการสนับสนุนส่งเสริมให้ดีมากขึ้น เพื่อที่ว่าเด็กไทยนั้นจะได้เป็นทั้งคนดี และคนเก่ง ที่มีศักยภาพมากที่สุด เช่น การจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรม


 เพราะฉะนั้นครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยี ภาษาต่างๆ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้อย่างเหมาะสม และยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำพาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้  และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมของการศึกษาไทยเพื่อเด็กไทยอยู่รอดได้อย่างมีความสุข

การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

1. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub มี การเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด คือ แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่จะมุ่งสร้างความตระหนักรู้ของคนไทยในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้ เป็นคนของประชาคมอาเซียน พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา

2. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษาด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่าง กันในประชาคมอาเซียน มีการเพิ่มครูที่จบการศึกษาด้านภาษาอังกฤษเข้าไปในทุกระดับชั้นการศึกษา เพื่อให้นักเรียนไทยสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการรับอาสาสมัครเข้ามาสอนภาษาต่าง ประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศต่างๆเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันของ ประเทศในประชาคม

ส่วนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษานั้น จะพัฒนาตามหลัก 3Nได้แก่ Ned Netโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ NEISศูนย์กลางรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา NLCศูนย์ เรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา มีการพัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ความเอื้ออาทร โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ นักศึกษาที่จบจากอาชีวศึกษาจะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานร่วมกันในประชาคมอาเซียน

นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลต่อไป